วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของโปรแกรม



ส่วนประกอบของโปรแกรม C/C++ robot simulator



1.Input-Output Simulate ส่วนการจำลองระบบอินพุต - เอาท์พุต หุ่นยนต์
2.Toolbar แถบเครื่องมือ เป็นแถบปุ่มคำสั่งต่าง ๆ
3.Code Text Editor พื้นที่เขียนโค๊ดโปรแกรมภาษาซีโครงสร้างภาษา arduino
4.Information&log เป็นพื้นที่สำหรับแสดงสถานะการคอมไพล์ Compile แจ้งสถานะข้อผิดพลาดจากการเขียนโค๊ดโปรแกรม error ต่าง ๆ
5.Stage Simulate พื้นที่สำหรับการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์ และภารกิจต่าง ๆ
1.Input-Output Simulate ส่วนการจำลองระบบอินพุต - เอาท์พุต หุ่นยนต์
    1.1 LCD Output Module เป็นหน้าจอสำหรับแสดงผลข้อความ ตัวเลข
    1.2 Digital Switch Input Module เป็นปุ่มแบบดิจิตอล ประกอบไปด้วย sw1 , sw2 , sw3 และปุ่ม Reset สำหรับเริ่มต้นการทำงานใหม่ของหุ่นยนต์จำลองและรีเซ็ตสนาม , ตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ เมื่อมีการกดปุ่มสวิตซ์ใด ๆ จะมีไฟสถานะของปุ่มนั้น ๆ สว่างด้วย
    1.3 Motor DC Output Module เป็นส่วนจำลองการทำงานวงจรจ่ายไฟกระแสตรงของมอเตอร์ มี 2 ช่อง
             คือ M1 , M2
             M1 ควบคุมมอเตอร์และล้อหุ่นยนต์ข้างซ้าย
             M2 ควบคุมมอเตอร์และล้อหุ่นยนต์ข้างขวา
ไฟสถานะปกติ ไฟสถานะเดินหน้า ไฟสถานะถอยหลัง
    1.4 Analog Input port เป็นส่วนจำลองการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ตัวตรวจจับอื่น ๆ เช่น เซนเซอร์สำหรับอ่านสีของพื้นสนาม , สีของวัตถุ ฯลฯ การเปิดปิดหรือต่อเข้ากับอุปกรณ์ทำได้จากแถบเครื่องมือ zx setting

           ชื่อพอร์ต pa0 ,pa1 ,pa2 ,pa3 ,pa4 ,pa5 ,pa6 ,pa7 ใช้สำหรับอ่านค่าสีจากพื้นสนาม
           ชื่อพอร์ต pa8 ใช้สำหรับอ่านค่าสีจากวัตถุที่อยู่ด้านหน้าของหุ่นยนต์
           การอ่านค่าใช้คำสั่ง analog(x);    x คือช่องที่ต้องการจะอ่านค่า



2.Toolbar แถบเครื่องมือ เป็นแถบปุ่มคำสั่งต่าง ๆ
2.1  ใช้สร้างไฟล์เอกสารโปรเจ็ค .C ใหม่ เพื่อเริ่มเขียนโปรแกรมใหม่
2.2  ใช้เปิดไฟล์เอกสารโปรเจ็ค .C เดิมที่เคยบันทึกไว้ ขึ้นมาแก้ไขเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม
2.3  ใช้บันทึกไฟล์เอกสารโปรเจ็ค .C ปัจจุบัน บึนทึกการจัดวาง sensor , map ต่าง ๆ
2.4  ตัดข้อความที่ถูกเลือกจากหน้า Code Text Editor ไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ดของโปรแกรม
      คีย์ลัด Shift+Delete
2.5  คัดลอกข้อความที่ถูกเลือกจากหน้า Code Text Editor ไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ดของโปรแกรม
      คีย์ลัด Control+Insert
2.6  นำข้อความในคลิปบอร์ดของโปรแกรมมาวาง/แปะลงในหน้า Code Text Editor ตำแหน่งที่
      เคอร์เซอร์ (Ibeam) อยู่ คีย์ลัด Shift+Insert
2.7  ยกเลิกการพิมพ์ในหน้า Code Text Editor ครั้งล่าสุด/ครั้งสุดท้าย
2.8  ทำซ้ำการพิมพ์ในหน้า Code Text Editor ครั้งล่าสุด/ครั้งสุดท้าย
2.9  พิมพ์ข้อความที่ต้องการค้นหาลงในช่องข้อความ กดปุ่ม Enter จะทำการค้นหา
      ข้อความในหน้า Code Text Editor
2.10  ใช้ในการคอมไพล์ Compile แปลภาษาซีจาก Code Text Editor เพื่อหาข้อผิดพลาดของ
      โปรแกรมและแปลงโค็ดให้เป็นภาษาเครื่องคอมฯ
2.11  ใช้ในการเริ่มจำลองการทำงานของหุ่นยนต์จาก SourceCode ที่ได้ทำการคอมไฟล์เสร็จแล้ว
2.12  หยุดการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์
2.13  ใช้เลือกแบบหุ่นยนต์จำลอง มีหลายแบบให้เลือกเพื่อความสนุกในการเขียนโปรแกรม
 มีให้เลือกดังนี้
2.14  ใช้สำหรับหมุน/หันตัวหุ่นยนต์จำลองไปทางซ้าย
2.15  ใช้สำหรับหมุน/หันตัวหุ่นยนต์จำลองไปทางขวา
2.16  ใช้ในการกำหนดค่าต่าง ๆ ของ Sensor เช่น การเปิด/ปิดการใช้งาน sensor , กำหนดตัวแหน่ง
      การจัดวาง , การแสดงสีของ sensor ฯลฯ
2.17  เป็นเครื่องมือ Track Line Editor สำหรับเขียนโค๊ดอัตโนมัติสำหรับควบคุมการเดินตามเส้น
      โดยการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ
2.18 เมนูสำหรับเลือก map / สนาม ภารกิจต่าง ๆ ค่าเริ่มต้นของโปรแกรมมีให้เลือกดังนี้
2.18.1 Reload map คือการรีเซ็ตสนามใหม่จากสนามล่าสุด
2.18.2 Load map as.. คือการโหลดสนามจากที่อื่น/แหล่งเก็บข้อมูลอื่น ๆ หรือสนามที่สร้างขึ้นเอง
2.18.3 Save Position in map.. คือการบันทึกสนาม ภารกิจที่กำหนดเอง รวมถึงบันทึกตำแหน่งของหุ่นยนต์ , วัตถุ


2.19   เป็นเครื่องมือการสร้างเส้นทางอัตโนมัติโดยการคลิกลากเส้นทางให้กับหุ่นยนต์ แล้วโปรแกรม
       จะ Generate เป็น SourceCode เส้นทางให้อัตโนมัติ
2.19.1 โหมดสร้างเส้นทาง เลือกเมนูนี้ก่อนแล้วจึงคลิกลากเส้นทางที่สนาม
2.19.2 เริ่มการนับแยก ใช้กำหนดการนับแยกจะให้เริ่มต้นแยกที่เท่าไร
2.19.3 คำนวณสร้างเส้นทาง ใช้เมื่อลากเส้นทางเสร็จแล้ว โปรแกรมจะทำการประมวลผลเส้นทางที่ได้ลากวางไว้ หรือกำหนดไว้แล้วในสนาม ออกมาเป็น sourcecode ภาษาซีสำหรับเป็นเส้นทางการเดินของหุ่นยนต์
2.20 แสดงหน้าจอผู้จัดทำ ซึ่งจากรูปจะปิดตานักเรียนไว้เผื่อใครอยากรู้จักหน้าก็หยิบวัตถุทรงกลม
      นั้นออกก็จะเห็นหน้าตาผู้ช่วยและคนทดสอบโปรแกรม
3.Code Text Editor พื้นที่เขียนโค๊ดโปรแกรมภาษาซีโครงสร้างภาษา arduino
          เป็นพื้นที่สำหรับเขียนโปรแกรมภาษาซีโครงสร้างภาษา Arduino ออกแบบให้มีสีสรรตามรูปประโยคที่นิยมใช้ในโปรแกรมภาษาทั่วไป เพิ่มการแสดงเลขบรรทัดเพื่อง่ายต่อการหาข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรม ขณะที่ทำการคอมไพล์
4.Information&log เป็นพื้นที่สำหรับแสดงสถานะการคอมไพล์ Compile แจ้งสถานะข้อผิดพลาดจากการเขียนโค๊ดโปรแกรม error ต่าง ๆ
         เป็นพื้นที่สำหรับแสดงสถานะการคอมไพล์ Compile แจ้งสถานะข้อผิดพลาดจากการเขียนโค๊ดโปรแกรม error ต่าง ๆ เช่นจากใจรูปมีการผิดพลาดในการคอมไพล์โปรแกรมจาก SourceCode ที่หน้า Code Text Editor บรรทัดที่ 3 คอมลัมน์ที่ 9 จากเครื่องหมายไม่ถูกต้องจาก คำสั่ง fd()  ซึ่งต้องแก้ไขด้วยการเติมเครื่องหมาย ; ลงไปท้ายประโยคคำสั่งนั้น fd(); เป็นต้น
5.Stage Simulate พื้นที่สำหรับการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์ และภารกิจต่าง ๆ
   สามารถจับลากวัตถุต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาขณะเขียนโค๊ดโปรแกรม หรือขณะ run simulator

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 กันยายน 2556 เวลา 00:15

    ต้องการโหลดแต่โหลดไม่ได้ งงว่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ26 กันยายน 2556 เวลา 00:53

    not yet load ng???

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. วิธีการดาวน์โหลด เข้าไปอ่านในลิงค์นี้นะครับ หลักการคล้าย ๆ กัน http://krumonrobot.blogspot.com/2013/01/cc-robot-simulator-demo.html

      สำหรับวิธีการติดตั้งและลิงค์เวอร์ชันใหม่ล่าสุด http://krumonrobot.blogspot.com/2013/07/c-robot-sim-full-v10130715-no-key.html

      ลบ
  3. เป็นความรู้ดีมากๆเลยครับ

    ตอบลบ

...