เนื่องจากโปรแกรม c robot sim เวอร์ชั่นล่าสุด ได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างภาษาให้เหมือนและเข้ากันได้กับภาษาซี Arduino จึงไม่สามารถใช้โครงสร้างภาษาซีแบบเดิมได้ครับ แต่ไม่สามารถใช้การ #include <...> ได้ เพราะเป็นเพียงการจำลองสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับหุ่นยนต์จริง ๆ โดยอ้างอิง Code และ Library ต่าง ๆ จาก หุ่นยนต์รุ่น POPbot-XT ของค่าย Inex ต่างกันในส่วนของการแสดงผลหน้าจอเป็นแบบ LCD 2 บรรทัดเท่านั้น
รูปตัวอย่างโครงสร้างภาษาเปรียบเทียบ มาตรฐานภาษา C และ C for Arduino
ยกตัวอย่างถ้าเขียนแบบมาตรฐานซี ฝั่งซ้ายมือ จะมีความหมายเดียวกัน คือ ฟังก์ชัน setup(); จะทำงานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อจบคำสั่งจะทำงานในฟังก์ชัน loop(); ต่อไป ซึงฟังก์ชัน loop(); จะทำงานซ้ำไปเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด
ดังนั้นในตัวอย่างบางตัวอย่างซึ่งเป็นเวอร์ชั่นเก่า จะเห็นว่ามีฟังก์ชั่น main(); อยู่ เช่นตัวอย่างนี้ ดังรูปด้านล่างแล้วทำการปรับปรุงโค๊ดให้อยู่ในลักษณะทางด้านขวามือ
คำสั่ง lcd(" string or text " + value ); ตอนนี้สามารถใช้สัญลักษณ์และแสดงผลตัวแปร เช่น
int a ;
a = 50;
lcd(" A = %d " , a );
ดูข้อมูลเพิ่มเติมคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้ที่ http://krumonrobot.blogspot.com/2013/01/library-function.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
...